Embeded System

EasyEDA ฟรี Platform สำหรับนักอิเล็กทรอนิกส์ทุกระดับ

By July 5, 2016 No Comments

EasyEDA เป็น Platform สำหรับนักทดลองอิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถ ออกแบบแผงวงจร(PCB) ออกแบบวงจร(Schematic) และ จำลองการทำงานวงจร(SPICE Simulation) โดย Platform รันบน cloud หรือ เราสามารถใช้ที่ไหน ก็ได้ ที่เข้าเน็ทได้  ซึ่งทางผมเองก้อเคย นำเสนอไป เมือหลายเดือนก่อน ในบทความ ซอฟต์แวร์จำลองการทำงานของวงจรและออกแบบแผงวงจร– EasyEDA  มาในบทความนี้ ทางผมเอาจะมาขยายความอีกรอบ หลังจากที่ลองใช้มาสักพักครับ มันเหมาะเลยกับมือใหม่ ที่กำลังมองหาโปรแกรมออกแบบวงจร น่าจะลองกับตัวนี้ดูครับ

car_batt

รูปแบบของโปรแกรม EasyEDA ที่ให้เราออกแบบวงจร (Schematic) ,SPICE Simulation และออกแบบ แผงวงจร(PCB)

คุณลักษณะทั้งหมด ของ EasyEDA สามารถหาอ่านได้ที่ เว็บไซต์ นี้นะครับ แต่แบบย่อๆ ผมสรุปไว้ดังนี้

  • สามารถออกแบบวงจร (Schematic) EasyEDA ได้ออกแบบส่วนการใช้งาน คล้ายๆกับ โปรแกรมออกแบบวงจรไฟฟ้าอื่นๆ ที่เราคุ้นเคย อย่างเช่น Kicad , Eagle และ Protel99se ถ้าใครเคยใช้มาก่อน ส่วนนี้จะคุ้นเคยดีแล้ว และ สำหรับมือใหม่นะครับ โปแกรมนี้ ไม่ซับซ้อนครับ ใช้งานง่ายนะครับ และ ตัวโปรแกรมสามารถบันทึกไฟล์ ออกมาเป็น .PDF ,ไฟล์ภาพ .png และ ไฟล์ Vector อย่าง .SVG ได้เลย ดูจากภาพข้างหลังนี้ได้เลยครับ ใครจะเอาไปออกแบบทำรายงานส่งอาจารย์สบายล่ะครับ
circuit

วงจรที่วาดจาก EasyEDA

  • ค้นหาชิ้นส่วน หลายคนอื่นจะกลัวว่า โปรแกรมใหม่แบบนี้ จะมี Component เยอะไหม สำหรับชิ้นส่วน (Component) ที่ไม่มีในชิ้นส่วนมาตราฐาน สามารถใช้ปุ่ม More Libraries ที่อยู่ด้านล่างหน้าจอ  ปุ่มนี้จะค้นหาอุปกรณ์เพิ่มเติมจากฐานข้อมูลนับ 100,000+ ชิ้น โดยชิ้นส่วนพวกนี้มาจาก Libraries ที่เปิดฟรีของ Kicad และ Eagle นั้นหมายความว่า Libraries จาก Sparkfun ,Seeeds ,Adafruits และ อื่นๆ อีกมากมาย เราสามารถเอามาใช้บน EasyEDA ได้ทันที และ ถ้ายังหาชิ้นส่วน(Part) ที่เราจะใช้ยังไม่เจออีก สร้างขึ้นมาเองได้อีก ดูจาก EasyEDA tutorial page
lib_eagle_kicad_1

สามารถใช้ Libraries วงจร และ footprint ของ Kicad and Eagle ได้

lib_eagle_kicad_2

ค้นหาชิ้นส่วน จาก Libraries ของ third-party โดยไม่ต้องติดตั้งเพิ่มเติม

  • เข้าถึงโปรเจค Open-Source ทาง Hardware อันนี้น่าจะเรียกได้ว่า เป็น มิติใหม่ของวงการอิเล็กทรอนิกส์ เลยก็ว่าได้นะครับ EasyEDA เป็น platform ที่เหมือนโปรแกรมออกแบบวงจร แต่พอรันบน cloud เราได้ใช้ประโยชน์อื่นๆ อีกด้วย อย่างเราสามารถแชร์ วงจรที่เราออกแบบไว้ ให้คนไปพัฒนาต่อได้ และ ยังมีชุมชนคนสร้างวงจงอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งแบบ แบบอิสระ และ ระดับบริษัท hardware อย่างเช่น Seeedstudio แชร์วงจรไว้ ซึ่งเราเอาบางส่วน หรือ ทั้งหมดไปต่อยอด ดัดแปลงได้เลยอีกด้วยครับ
circuit2

เข้าถึง ไฟล์งานออกแบบที่เป็นโปรเจค open-source ที่แชร์โดยคนอื่นได้โดยง่าย ในตัวอย่าง seeed studio เอาโปรเจคเขามาแชร์ ให้เราได้ใช้ด้วย

  • คุณสมบัติ  Photo view ดูภาพของแผงวงจรก่อนที่จะผลิต เราสามารถเลือกสีของแผงวงจร กับ สีของ soldermask ได้ ก่อนที่จะสั่งทำได้ (อันนี้ ใน eagle ไม่มี ชอบให้เรานึกเอง)
photoview

คุณสมบัติ Photo view ให้ดูแผงวงจร ที่เราออกแบบได้ก่อน จะสั่งผลิต

  • สั่งทำ PCB ได้ทันที่ คุณสมบัตินี้ ในไทยอาจจะลำบากหน่อย แต่ผมว่าน่าสนใจ ทาง EasyEDA มีบริการจัดทำ PCB ด้วย เมื่อออกแบบเสร็จ เรากดสั่งได้เลย ในหน้าเวปเขานี้ล่ะ ส่วนของ UI เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเลยครับ ทำให้ไม่ต้องไปหาร้าน หรือ โรงงานห้ลำบาก แต่เขาไม่ได้บังคับนะครับ เขายังเปิดให้เรา download ไฟล์ Gerber ส่งให้โรงงานที่เราคุ้นเคยได้อีกเช่นกันครับ สำหรับตัวอย่างที่ผมเอามาให้ดู เป็นแผงวงจรสำหรับมอนิเตอร์แรงดันไฟ แสดงแบตเตอรี่รถยนต์ และ แสดงแรงดันไฟตอน charge ซึ่งโชว์ไว้ข้างล่างนี้ ภาพตอนออกแบบ กับ ภาพตอนทำเสร็จ เหมือนกันเลย
final_board

ประกอบบอร์ดมอนิเตอร์ไฟแบตเตอรี่ เหมือน ภาพ PhotoView ข้างบนเลยไหมล่ะ

final_board2

แผงวงจรที่สร้างเสร็จ สามารถอ่านแรงดันไฟ ขณะเครื่องยนต์ทำงานได้

  • สิ่งที่ดี ในการใช้งาน EasyEDA ไฟล์งานออกแบบทุกอย่าง อยู่บน cloud ซึ่งทำให้เราไปเปิดงานที่เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องไหน ก็ได้ ซึ่ง มันน่าสนใจมาก เราไม่ต้องแบกคอมพิวเตอร์ ที่เราต้องติดตั้งโปรแกรม และ หา Libraries ที่ใช้มาใส่ให้ครบ แบกไปด้วย ไปต่างประเทศ ก็แก้งานได้นะเอาสิ และ สำหรับทางเวปนะครับ งานส่วนใหญ่เราจะเป็นโปรเจค opensource ที่เปิดให้แชร์ มันน่าจะดีกว่ามาก เราแชร์บน platform ที่สามารถวิวไฟล์งานออกแบบได้เลยครับ

คุณสมบัติอื่นๆ ของ EasyEDA หรือ รายละเอียดอื่นๆ ดูได้ในวีดีโอนี้เลย

Leave a Reply